Information System Analysis and Design

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ATM

ATM : Asynchronous Transfer Mode
ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กำลังเป็นเทคโนโลยีที่มีผู้กล่าวถึงและให้ความสนใจกันมากในขณะนี้อีกระบบหนึ่งคือ ATM ATM ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ไม่ใช่ระบบการเบิกถอนเงินสด ATM มาจากคำย่อของ Asynchronous Transfer Mode
ATM เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นแบบ แพ็กเก็จ เหมือนเช่นในเครือข่าย X.25 หรือระบบ LAN อื่น ๆ เช่น อีเทอร์เน็ตโทเกินริง แต่การสื่อสารเป็นแบบอะซิงโครนัสกล่าวคือ ตัวรับและตัวส่งใช้สัญญาณนาฬิกาแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน
สิ่งที่ ATM แตกต่างจากระบบ แพ็กเก็จสวิตชิ่งอื่น ๆ คือ ATM ส่งข้อมูลด้วยขนาดของแพ็กเก็จที่ทุกแพ็กเก็จมีจำนวนข้อมูลเท่ากันเสมอ แพ็กเก็จของ ATM มีขนาด 53 ไบต์ โดยให้ 5 ไบต์แรกเป็นส่วนหัวที่จะบอกรายละเอียดของแอดเดรสและมีส่วนข้อมูลข่าวสารอีก 48 ไบต์ตามมา เราเรียกแพ็กเก็จของ ATM ว่า " เซล "
การออกแบบให้เซลข้อมูลมีขนาดสั้นก็เพื่อความเหมาะสมที่จะประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้นคือ ใช้รับส่งข้อมูล เสียง ภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการส่งผ่านกันและกันด้วยความเร็วสูง
รูปที่ 1 เปรียบเทียบเครือข่าย ATM กับระบบอีเทอร์เน็ต


รูปที่ 2 เครือข่าย ATM แบบ WAN
การรับส่งสัญญาณ ATM จึงใช้ช่องสื่อสารที่มีความเร็วต่าง ๆ ได้ซึ่งผิดกับ LAN เช่น อีเทอร์เน็ต ใช้ความเร็ว 10 Mbps หรือโทเกนริงใช้ 16 Mbps แต่ ATM ใช้กับความเร็วได้ตั้งแต่ 64 Kbps, 45 Mbps, 155 Mbps, 622 Mbps หรือ สูงกว่าก็ได้
เครือข่าย ATM เป็นเครือข่ายที่ประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบ LAN หรือ WAN ใช้กับตัวกลางได้ทั้งแบบลวดทองแดงหรือเส้นใยแสง แต่โครงสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโหนดเป็นแบบสวิตซ์ที่เรียกว่า ATM Switch การส่งผ่านข้อมูลแต่ละเซลจึงขึ้นกับแอดเดรสที่กำหนด ( รูปที่ 1 )
จากโครงสร้างการผ่านข้อมูลแบบสวิตซ์ด้วยเซลข้อมูลขนาดเล็กของ ATM จึงทำให้เหมาะกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ WAN ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องการใช้ความเร็วข้อมูลสูง เครือข่าย WAN ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เทคนิคของ ATM ได้เช่นกัน ( รูปที่ 2 )
งานประยุกต์ที่กำลังกล่าวถึงกันมากอย่างหนึ่งคือ ระบบหลายสื่อ หรือที่เรียกว่า Multi-Media ระบบการประยุกต์นี้ประกอบด้วย การประมวลผล และส่งข้อมูล ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง ข้อมูลตัวอักษร ฯลฯ ระบบ ATM จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะทำให้ระบบหลายสื่อประสบความสำเร็จในการใช้งานต่อไปในอนาคต
ข้อเปรียบเทียบระหว่างเครือข่าย ATM เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่าย LAN
3.1 เครือข่าย LAN
เครือข่าย Local Area Network หรือเครือข่าย LAN มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบ connectionless ระบบ LAN ที่ใช้ กันส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานของ IEEE 802 ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ประกอบด้วย Ethernet ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 10Mbps และ Token Ring ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 4 Mbps หรือ 16 Mbps มีโปรโตคอล IEEE 802 เป็นตัวกาหน ด data link layer และ physical layer ใน OSI Reference Model โดยในส่วนของ data link layer จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้ แก่ ส่วน MAC (Medium Access Control) และ LLC (Logical Link Control) ส่วน MAC layer จะเป็นตัวกำหนดการ access, การแบ่งใช้งาน (share) อุปกรณ์ร่วมกันและการเชื่อมต่อสื่อสารกัน ส่วน LLC layer จะช่วยในเรื่องการอินเทอร์เฟสระหว่างโปรโตคอลใน Network layer กับ โปรโตคอลต่างๆ ใน MAC layer
หลักการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย LAN นั้นจะใช้ MAC address จะเป็นตัวกำหนดที่อยู่ ต้นทางและปลายทางของเฟรม โดยในการกำหนด MAC address ของส่วนปลายทางนั้น เครื่อง server จะทาหน้าที่ส่ง broadcast packet ไปยังเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เพื่อถามถึง MAC address ของเครื่องปลายทาง เมื่อเครื่องปลายทางแจ้ง MAC address ตอบเครื่องต้นทางกลับมาก็จะเป็นการเริ่มการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและปลายทาง ตัว address resolution ซึ่ง ใช้วิธีการของ broadcast packet และการส่งถ่ายข้อมูลแบบ fast connectionless ทำให้เครือข่าย LAN มีประสิทธิภาพดีสำหรับรูปแบบ traffic ที่ไม่แน่นอน (randomly spaced traffic patterns) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ทรัพยากร ร่วมกันเช่นนี้ทำให้เกิดข้อเสียคือเครื่องลูกข่ายไม่สามารถได้รับการประกันคุณภาพการส่งว่าจะได้รับ bandwidth เท่าไร ในการส่งแต่ละครั้ง
เครือข่าย ATM
เครือข่าย ATM จะช่วยให้ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีความ เร็วในการ สวิตซ์ข้อมูลสูงมากนั่นเอง ลักษณะของเครือข่าย ATM ก็จะเป็นสายไฟเบอร์ (Fiber Optic Cable) หรือสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 155 Mbps ขึ้นไป และ จะมีอุปกรณ์ปลายทางซึ่งอาจเป็น PC ธรรมดาที่มี ATM Interface Card หรือเป็น Edge switch คือประกอบด้วย ATM Interface หรือ Ethernet Interface เพื่อเชื่อมต่อไปยัง PC ซึ่งมี Ethernet Card อีกทีนั่นเอง หรือ อาจเป็นอุปกรณ์ทางการสื่อสาร เช่น ตู้สายโทรศัพท์ PABX ซึ่งมี ATM Interface หรือระบบ Video Conference ก็ได้ กล่าวคือ อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์เกือบทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อกับ ATM Network และใช้ประ โยชน์จากเครือข่ายความเร็วสูงนี้ได้ถ้ามี ATM Interface ที่ตรงตามมาตรฐานนั่นเอง
แต่เนื่องจาก ATM ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อเข้ากับสวิตซ์ ATM และส่งข้อมูลโดยใช้ ATM โดยตรงเลยนั้นจึงยังมีไม่มากนักและมีราคาแพงอยู่จึง ได้มีการคิดค้นระบบ IP over ATM และ LAN Emulation ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ บนเครือข่ายเดิมซึ่งใช้แอพพลิเคชันบน IP และ Ethernet ธรรมดาบนเครือข่าย ATM ได้ หรือเป็นการจำลองเครือข่าย IP และEthernet ขึ้นบนเครือข่าย ATM นั่นเอง ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนต่อไป

ข้อดีของ ATM
ข้อดีของการใช้ ATM สามารถจำแนกได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงาน ร่วมกันได้ถึงแม้จะต่างชนิดกัน โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใด กล่าวคือ เป็นมาตรฐานกลางที่ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน
2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูล สำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) และ ระยะไกล (Wide Area Network : WAN) แต่เดิมนั้นรูปแบบของการส่งข้อมูลใน LAN และ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว
3. ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบ แต่เดิมนั้นข้อมูลแต่ละรูปแบบไดเแก่ สัญญาณเสียง (voice) ข้อมูล (data) และภาพเคลื่อนไหว (video) ต่างก็มีเครือข่ายของตนเอง โดยสัญญาณเสียงที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์จะมีลักษณะที่มีอัตราการส่งข้อมูลคง ที่เท่า ๆ กันตลอดเวลา ข้อมูลเสียงอาจยอมให้มีการสูญเสีย (error) ได้บ้าง แต่จะต้อง ให้มีการหน่วงเวลา (delay) น้อยที่สุด ส่วนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ (data) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะมีอัตราการส่งข้อมูลไม่คงที่ มีลักษณะเป็น bursty คือ บางเวลาจะมีข้อัมูลมากเป็นกลุ่มก้อน แต่บางเวลาก์ไม่มีข้อมูลเข้ามาเลย ลักษณะนี้เรายอมให้มีการหน่วงเวลาได้บ้าง แต่จะให้มีการสูญเสีย (error) ให้น้อย ที่สุด จะเห็นว่าข้อมูลต่างลักษณะกัน ต้องการคุณภาพในกรส่งที่ต่างประเด็นกัน สำหรับ ATM เราไม่จำเป็นต้องแยกเครือข่ายสำหรับข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากมันถูกออก แบบมาเพื่อใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง (voice), ข้อมูล (data) และ วิดีโอ (video) นั่นเอง
รูปที่ 2 แสดงประโยชน์ของเครือข่าย ATM ที่สามารถผนวกการให้บริการข้อมูลรูปแบบต่างๆ                    ในเครือข่ายเดียวกันได้ (ATM can provide multiple services on a single network.)

4. ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps (กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)
5. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่ง (Quality of Service) ทาให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบของข้อมูล โดยเราสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัตินี้กับการส่งจดหมายที่เราสามารถเลือกว่าจะส่ง แบบธรรมดา, ด่วนพิเศษ (EMS) หรือ ลงทะเบียนป้องกันการสูญหาย เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------

Hi-Def คืออะไร

Hi-Defหรือ HD ย่อมาจากคำว่า High Definition ซึ่งหมายถึง ความละเอียดสูงนั่นเอง เดิมทีเราจะคุ้นกับระบบของ DVD-Video มาตรฐาน โดยมีความละเอียดของเส้นแนวนอนที่ 480 เส้น ในระบบ NTSC และ 576 เส้น ในระบบ PAL ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Standard Definition (SD) รองรับสัดส่วนภาพทั้งแบบ Fullscreen 4:3 และ Widescreen ส่วนระบบภาพที่มีความละเอียดสูงกว่านี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม High Definition (Hi-Defหรือ HD) เช่น 720 เส้น (1280×720 พิกเซล), 1080 เส้น (1920×1080 พิกเซล) เป็นต้น โดยจะใช้สัดส่วนภาพแบบ Widescreen ทั้งหมดด้วยอัตราบิตเรตที่ส่วนใหญ่จะสูงกว่าฟอร์แมต DVD-Video แบบเดิมๆ วิดีโอในฟอร์แมต HD ให้คุณภาพที่ดีกว่า DVD-Video ทั่วไป เช่น ที่ความละเอียด 1080i จะมีจำนวนจุดที่แสดงภาพมากกว่าถึง 6 เท่า เมื่อเทียบกับภาพที่ได้จาก NTSC DVD ซึ่งไม่เพียงแต่ด้านรายละเอียดของภาพที่ดีกว่า แต่ยังรวมถึงคุณภาพของสีสันและความลื่นไหลของภาพด้วย ซึ่งหากเปรียบเทียบกันง่ายๆ ก็คือการดูหนังแบบ DVD เทียบกับ VCD ที่เราจะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนนั่นเอง


แต่เนื่องจากความละเอียดของภาพในฟอร์แมต HD ที่สูงกว่า ทำให้ขนาดของไฟล์วิดีโอสูงตามไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบภาพยนตร์เรื่องเดียวกันกับ DVD นั้น ฟอร์แมต HD จะมีขนาดไฟล์วิดีโอได้มากกว่า 20 GB เลยทีเดียว (เทียบได้กับ DVD5 จำนวน 5 แผ่น) ภาพยนตร์ที่บันทึกแบบ HD จึงถูกบรรจุเอาไว้ในสื่อเก็บข้อมูลที่มีความจุสูงๆ อย่าง Blu-Ray เป็นต้น แน่นอนว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องเล่น Blu-Ray ด้วย แต่ถ้าไม่มีเครื่องเล่น Blu-Ray ราคาแพงละก็ HDD Player เป็นคำตอบสุดท้ายที่คุณสามารถเป็นเจ้าของได้โดยไม่ทำให้กระเป๋าแฟบ (* 0 *)!
HDD Player ดีอย่างไร
HDD Player จัดว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับนักดูหนังยุคใหม่ ที่ถนัดกับการซื้อหนังแบบออนไลน์ หรือดาวน์โหลดหนังตัวอย่างมาดู โดยเลือกที่จะไม่ดูกับคอมพิวเตอร์เพราะมีหน้าจอเล็กไป การทำงานของ HDD Player ก็จะเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูลตัวหนึ่ง แต่เป็นฮาร์ดดิสก์ที่สามารถนำมาต่อกับโทรทัศน์ได้ โดยเปิดเล่นไฟล์หนัง เพลง หรือรูปภาพที่เก็บไว้ในนั้นได้เลย ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาแปลงไฟล์ในฟอร์แมตต่างๆ ให้เป็น DVD ก่อน เพื่อนำไปเปิดกับเครื่องเล่นดีวีดี

นอกจากนี้ HDD Player บางรุ่น ยังสามารถต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์กภายในบ้านได้ เมื่อเราได้หนังเรื่องใหม่ๆ มาก็เพียงแค่โยนไฟล์ข้ามเน็ตเวิร์กจากคอมพิวเตอร์มาเก็บไว้ใน HDD Player ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาถอดฮาร์ดดิสก์ไปถอดมาระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ด้วย ข้อได้เปรียบของ HDD Player ก็คือ รองรับไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ VCD ไปจนถึงภาพยนตร์ระดับ HD ซึ่งเมื่อก่อนต้องใช้เครื่องเล่นแบบ Blu-ray เท่านั้น และยิ่งมีรุ่นใหม่ๆ ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ HDMI ให้มาด้วย ทำให้เราสามารถนำไปใช้กับโทรทัศน์รุ่นใหม่ๆ เช่น LCD TV ได้เลย
แค่เสียบสาย HDMI เท่านี้ก็พร้อมสำหรับทุกความบันเทิงแล้ว
HDD Player แบบไหนที่ต้องการ
HDD Player ในท้องตลาดก็มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น ตั้งแต่รุ่นที่เล่นไฟล์ MPEG ได้เพียงอย่างเดียวไปจนถึงเล่นไฟล์ MKV ได้ ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นกล้องขนาด 2.5 นิ้ว สำหรับพกพาได้สะดวก และขนาด 3.5 นิ้ว ที่ต้องเสียบปลั๊กไฟบ้าน นอกจากนี้ยังมีราคาตั้งแต่ไม่กี่พันบาทไปจนถึงหมื่นต้นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องเล่นแต่ละยี่ห้อ และที่ว่ามาทั้งหมดนั้นยังไม่รวมฮาร์ดดิสก์นะครับ  เราต้องซื้อหาฮาร์ดดิสก์มาใส่เองอีกที
HDD Player ที่ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ขนาด 1 เทราไบต์ เท่านี้ก็เกินพอสำหรับภาพยนตร์นับร้อยเรื่อง
ที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกซื้อ HDD Player ก็คือการรองรับฟอร์แมตของไฟล์ต่างๆ ซึ่งเราต้องดูว่าเครื่องเล่น HDD Player นั้นรองรับไฟล์ฟอร์แมตที่เราต้องการได้หรือไม่ ปกติแล้ว ถ้าจะให้ดีก็ต้องรองรับไฟล์ฟอร์แมต MKV เพื่อที่จะสามารถดูไฟล์หนังความละเอียดสูงได้ (รายละเอียดของ MKV ดูได้จาก Note) ส่วนไฟล์ฟอร์แมตอื่นๆ เช่น ISO ซึ่งเป็นไฟล์ DVD ริปให้อยู่ในรูปของอิมเมจ นั้นเป็นเรื่องปกติแล้วสำหรับ HDD Player สมัยนี้

Note : MKV คืออะไร
ฟอร์แมตสำหรับหนัง Hi-Defปัจจุบันแบ่งออดเป็นสองแบบ ได้แก่  Full Rip คือการคัดลอกสำเนามาลงในคอมฯ เหมือนแผ่นต้นฉบับ 100% แต่วิธีนี้ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากถึง 25-40 GB ส่วนฟอร์แมตที่สองก็คือ MKV ซึ่งมีความสามารถในการบีบอัดข้อมูลจากขนาด 25-40 GB ให้เหลือเพียง 4-15 GB โดยให้คุณภาพใกล้เคียงกับ Full Rip แต่มีการตัดลูกเล่นต่างๆ ในแผ่นออกไปนั่นเอง

ราคาถูกแพงแตกต่างกันตรงไหน
เครื่องเล่น HDD Player มีราคาตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นไป ซึ่งถ้าจะแบ่งกลุ่มสำหรับเครื่องเล่นประเภทนี้คงแบ่งได้ตามตัวชิปที่นำมาใช้ โดยอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ชิปของ Sigma (ราคาสูง) เช่น Dvico, Popcorn, Dune กับกลุ่มที่ใช้ชิปของ Realtek (ราคาถูกกว่า) โดยความแตกต่างนั้นอาจจะอยู่ที่ความคมชัดเป็นหลัก นอกเหนือจากนั้นก็เป็นลูกเล่นอื่นๆ ที่ทำให้เครื่องบางยี่ห้อมีราคาแพงขึ้นด้วย เช่น หน้าตาที่ดูทันสมัย รองรับอินเทอร์เฟซได้มากกว่า เป็นต้น

Dvicoเครื่องเล่น HDD Player สัญชาติเกาหลี ที่เน้นเรื่องความคมชัด และฟังก์ชันที่หรูหรา
HDD ยี่ห้อ Play On เครื่องเล่น HDD Player ในระดับประหยัด
ตลาดที่กำลังเติบโต
เมื่อเปรียบเทียบกับความเติบโตของ HDD Player แล้ว ตอนนี้ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งจากผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ผลิตต่างๆ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงยี่ห้อโนเนมที่เราไม่คุ้นเคยเป็นผู้เปิดตลาดให้ แต่ตอนนี้ยี่ห้อที่เราคุ้นเคยเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นแล้ว ปัญหาเพียงอย่างเดียวสำหรับ HDD Player ก็คือ ต้นฉบับของหนังที่เราต้องมานั่งทำเองเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ต้องดาวน์โหลดเองจากอินเทอร์เน็ตเท่านั้นเอง อ้อเครื่องเล่น HDD Player ไม่ได้เพียงแค่รองรับไฟล์ภาพยนตร์อย่างเดียวนะครับ แต่จะฟังเพลง หรือว่าดูภาพก็ทำได้เหมือนกัน

ข้อดีข้อเสีย ประโยชน์  ของการใช้ Hd Player
ข้อเสีย คือเสียตั้งซื้ออย่างเดียว และลำบากหาหนังหาเพลงมา           
 ข้อดี
                    1. ไม่ต้องเสียเงินซื้อแผ่น เก็บข้อมูลดูจาก HDD เลย
                    2. ได้ภาพและเสียงคุณภาพสูง
                    3. บางรุ่นเล่น net ได้  พวก youtube
                    4. ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแผ่น
                    5. ใช้งานง่าย เหมือน folder ใน window
                   




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น